แน่นอนว่าทุกคนที่ฉีดฟิลเลอร์ ไปแล้วย่อมต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่สวย เข้าที่เร็ว ไม่เกิดปัญหา หรือผลข้างเคียงใด ๆ ตามมา ซึ่งการฉีดฟิลเลอร์นี้ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมการปรับรูปหน้าดูแลผิวพรรณที่เป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะเป็นหัตถการที่เห็นผลเร็ว ไม่ต้องผ่าตัด ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องพักฟื้น แต่หลังฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วก็สามารถเกิดปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้เช่นกัน ซึ่งปัญหานี้ก็จัดว่าเป็นปัญหาที่หลายคนเคยเจอ ดังนั้นเราจะพาไปดูกันว่า ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เกิดจากอะไร เป็นอันตรายไหม แล้วจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้กันค่ะ
หลังจากการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มีอาการบวม ผิวดูไม่เรียบเนียน เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยมีดังนี้
เป็นการใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ฟิลเลอร์ที่ไม่ใช่สารไฮยาลูรอนิค แอซิด (Hyaluronic Acid : HA) หรือเป็นฟิลเลอร์ปลอมที่มีราคาถูกนั่นเอง ซึ่งหากฉีดมาแล้วจะทำให้เกิดปัญหาฟิลเลอร์จับกันเป็นก้อน ฟิลเลอร์ไหลย้อยไม่เป็นทรง และไม่สามารถสลายไปเองได้ หากต้องการแก้ไขจะไม่สามารถฉีดสลายได้เหมือนกลุ่มฟิลเลอร์ Hyaluronic acid หรือฟิลเลอร์แท้ จำเป็นต้องทำการผ่าตัดหรือขูดออกเท่านั้น
แพทย์ผู้ฉีดจะต้องมีความรู้ความชำนาญของโครงสร้างสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชั้นผิว ไขมัน กล้ามเนื้อ รูปกระดูก และต้องมีประสบการณ์ในการฉีด เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด หากแพทย์ไม่มีความชำนาญในการประเมินปริมาณที่ควรใช้ฉีด หรือใช้เทคนิคในการฉีดไม่ถูกต้อง เนื่องจากปัญหาหรือบริเวณที่ต้องการแก้ไขของคนไข้แต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน หากแพทย์ไม่มีประสบการณ์ก็อาจจะทำให้มีความเสี่ยงในการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวมได้
การฉีดฟิลเลอร์ด้วยปริมาณที่ไม่เหมาะสม หรือฉีดมากเกินความจำเป็นในจุดที่ต้องการแก้ไขก็จะส่งผลให้เกิดเป็นก้อนบวมที่เห็นชัดเจนได้ รวมทั้งการฉีดผิดชั้น หรือเลือกใช้ยี่ห้อที่ไม่เหมาะสมกับปัญหาบริเวณที่ต้องการรักษาก็อาจทำให้เป็นก้อนได้เช่นกัน เพราะสภาพผิวของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน แพทย์จึงต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายบุคคลก่อนทำการฉีดฟิลเลอร์
ปัจจุบันยี่ห้อของฟิลเลอร์มีด้ววยกันหลากหลายรุ่นมาก ๆ ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเนื้อฟิลเลอร์ หรือขนาดของโมเลกุล ที่จะออกแบบมาให้เลือกใช้ฉีดในแต่ละจุดที่แตกต่างกันด้วย หากฉีดในผิวชั้นลึกควรใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดของโมเลกุลที่มีความหนาแน่นสูง เพราะถ้านำมาฉีดในผิวชั้นตื้นเวลาขยับหรือแสดงสีหน้าก็จะทำให้ดันจนเป็นก้อนได้ เช่น การนำฟิลเลอร์ที่มีลักษณะเนื้อค่อนข้างเหนียว หรือมีความแข็ง โมเลกุลหนาแน่นมาใช้ฉีดบริเวณใต้ตา ฟิลเลอร์ก็มีโอกาสจับตัวกันเป็นก้อนแข็งใต้ตาได้นั่นเอง
สำหรับการฉีดฟิลเลอร์โดยแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือฉีดผิดชั้น หรือใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสม และฉีดในบริเวณที่มีการขยับของใบหน้าเยอะ ก็สามารถส่งผลให้ฟิลเลอร์เคลื่อนที่ไปในตำแหน่งอื่นได้ ซึ่งบริเวณที่มักพบการเคลื่อนของฟิลเลอร์ เช่น ขมับ ร่องแก้ม และบริเวณรอบปาก เป็นต้น
ทั้งนี้ หลังฉีดฟิลเลอร์แล้วมีลักษณะเป็นก้อน หรือมีอาการบวมเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นเพียงผลข้างเคียงหลังการฉีดเฉย ๆ แนะนำให้รอดูผลหลังฉีดประมาณ 2-3 วัน อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเอง และอาการบวมจะเริ่มยุบลงและเห็นผลลัพธ์ชัดเจนประมาณ 7-14 วัน หากหลังจากนั้นยังมีอาการบวม หรือมีก้อนบวมใหญ่ขึ้น ให้กลับไปพบแพทย์ผู้ฉีดอีกครั้ง เพื่อประเมินและทำการรักษา
บริเวณที่คนนิยมฉีด filler เพื่อแก้ไขปัญหาผิวหน้าต่าง ๆ และมักพบอาการเป็นก้อนบวม มีหลายจุดด้วยกัน ได้แก่
อาการฟิลเลอร์เป็นก้อนมีทั้งแบบที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย หากฟิลเลอร์เป็นก้อนหลังฉีดที่ไม่ได้มีการติดเชื้อจะไม่เป็นอันตราย แต่อาจจะทำให้ผิวดูไม่เรียบเนียนและไม่สวยงาม ซึ่งมักจะเกิดหลังจากฉีดฟิลเลอร์มาในช่วงแรก ๆ แต่ก้อนฟิลเลอร์นี้จะค่อย ๆ ยุบลงจนฟิลเลอร์สลายหมดไปในที่สุด
ในส่วนของฟิลเลอร์เป็นก้อนที่เกิดจากอาการอักเสบและติดเชื้อ โดยจะมีอาการอื่น ๆ รวมด้วย เช่น เจ็บ แดง เป็นหัวหนอง หรือฝี และมีอาการปวดบวมขึ้นเรื่อย ๆ ถือว่าเป็นอันตราย ควรรีบกลับไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน เพราะหากปล่อยไว้นานอาจจะทำให้การติดเชื้อลามมากขึ้นจนเกิดเป็นแผลเนื้อตายได้ ซึ่งลักษณะเป็นก้อนที่มีการติดเชื้อนี้มักมาจากการใช้ฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่ผ่าน อย. และไม่สามารถสลายไปได้เอง
การแก้ไข filler เป็นก้อน จะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีหลัก ๆ ซึ่งจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมและมีความปลอดภัยต่อคนไข้มากที่สุด
ฉีดสลายเป็นวิธีที่สามารถสลายฟิลเลอร์ชนิดไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid หรือฟิลเลอร์แท้เท่านั้น ซึ่งจะใช้ตัวยาไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase : HYAL) ฉีดเพื่อสลายฟิลเลอร์ โดยแพทย์จะประเมินปริมาณยาสลายที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ ที่ฉีดฟิลเลอร์มาเช่นกัน หลังฉีดสลายจะเห็นผลทันทีในบางส่วน และจะเห็นผลมากขึ้นประมาณ 1-3 วัน ซึ่งจะสามารถสลายออกไปได้หมด 100% แต่ในบางรายที่ฉีดมาหลาย CC หรือเนื้อฟิลเลอร์แข็ง ทำให้สลายยาก สามารถกลับมาฉีดสลายซ้ำอีกครั้งได้
การขูดออกเป็นวิธีที่แก้ปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อนสำหรับคนที่ฉีดด้วยสารที่ไม่ใช่ชนิดไฮยาลูรอน โดยจะเป็นฟิลเลอร์ชนิดที่ไม่สามารถสลายไปเองได้ เช่น Polyamine (Aqualift), Hydrophilic Gel ซึ่งจะต้องทำการขูดออก แต่จะสามารถเอาออกได้แค่ 60-70% เท่านั้น ไม่สามารถเอาออกได้หมด หรือสลายหมดเหมือนฟิลเลอร์แท้
วิธีที่เหมาะสำหรับคนที่ฉีดฟิลเลอร์ประเภทซิลิโคนเหลว ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่สามารถสลายได้ ทำให้เป็นก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก รวมทั้งผู้ที่ฉีดมานานจนเกิดเป็นพังผืด แต่วิธีการผ่าตัดนี้ก็ไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกหมดได้เช่นกัน และมีความเสี่ยงในเรื่องของเส้นประสาท หรือเส้นเลือดสำคัญต่าง ๆ ดังนั้นหากต้องการแก้ปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อนด้วยวิธีนี้ ต้องปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมก่อนทำการผ่าตัด
อ่านบทความเพิ่มเติม : ฉีดสลายฟิลเลอร์กี่วันหาย หลังฉีดสลายมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มักจะเกิดจากการใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือฟิลเลอร์ปลอม ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุด ก่อนทำการฉีดควรพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน เช่น ควรเลือกฉีดกับคลินิกที่น่าเชื่อถือ แพทย์มีประสบการณ์สูง ใช้ยี่ห้อและใช้ปริมาณที่เหมาะสมกับปัญหาแต่ละจุด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อน และได้ผลลัพธ์ที่เนียนสวย ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด
สำหรับคนผู้อ่านท่านใดที่สนใจอยากฉีดฟิลเลอร์ หรือมีข้อสงสัยอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถปรึกษากับทีมแพทย์ All About Clinic ของเราได้ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line @AACCENTER ค่ะ