ผมบาง

ผมบาง กลับมาหนาได้ไหม รวม 5 เทคนิคแก้ผมบาง แก้ได้ด้วยตัวเอง

คุณกำลังประสบปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน อยู่หรือเปล่า และปัญหาที่เกิดขึ้น เหล่านี้เป็นแบบชั่วคราวหรือเรื้อรัง อายุและเพศมีโอกาสเกิดขึ้นเท่ากันหรือเปล่า ปัญหาเรื่องเส้นผมมักจะทำให้เราเกิดความวิตกกังวล และขาดความมั่นใจ เนื่องจากเส้นผมเปรียบเสมือนสิ่งที่ช่วยทำให้บุคลิกของคุณให้ดูดีขึ้น เมื่อมีปัญหาเหล่านี้ ทุกคนจึงหาทางแก้ไข และตัวช่วยต่าง ๆ เพื่อลด ชะลอ หรือยับยั้งการร่วงของเส้นผม และหาวิธี เทคนิคต่าง ๆ ดูแลเส้นผม

เลือกอ่านหัวข้อในบทความ

ผมร่วง ผมบาง เกิดจาก อะไร ?

ผมบาง

แพทย์จะแบ่งภาวะผมร่วง ในทางการแพทย์ ออกเป็น ผมร่วงที่ไม่เกิดแผล (non-scarring alopecia) และผลร่วงที่เกิดแผลเป็น (scarring alopecia) และสามารถแบ่งปัจจัยหลัก ของการเกิดภาวะผมร่วง ผมบางได้ออกเป็น 2 ปัจจัยที่กระตุ้นให้ผมร่วงผิดปกติ ได้แก่ ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ดังต่อไปนี้

ปัจจัยภายนอกที่ทำให้ผมร่วง ผมบาง

  • การใช้ยาบางจำพวก เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาสิวที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ ยาเคมีบำบัด ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคข้อเสื่อมข้ออักเสบ ยาลดความเครียดบางชนิด  ยากันชัก ยาลดความดันบางชนิด   ยาคุมกำเนิด ยาละลายลิ่มเลือด
  • หนังศีรษะอับ ชื้น เช็ดไม่แห้ง จนเกิดเชื้อรา บนหนังศีรษะ
  • การได้รับสารเคมี จากการทำผม ย้อมผม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเส้นผม และหนัวศีรษะ
  • การเกา การดึง หรือการกระทำที่ทำให้ หนังศีรษะเกิดแผล
  • การถักเปีย การมัดผม เป็นเป็นเวลานาน เนื่องจากเส้นผมถูกดึงเป็นเวลานาน ทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย
  • การเข้าการรักษา การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
  • เส้นผมที่โดนความร้อนสูง เป็นระยะเวลานาน หรือบ่อยครั้ง ทำให้เส้นผมแห้ง และขาดหลุดร่วงง่าย

ปัจจัยภายในที่ทำให้ผมร่วง ผมบาง

  • ผมร่วงที่เกิดจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมน (Androgenetic alopecia, AGA) ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สามารถเกิดได้จากการถ่ายทอดยีนเด่นบนโครโมโซม และการถ่ายทอดหลายปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  (multifactorial inheritance) ทำให้หนังศีรษะมีความไวต่องฮอร์โมน ที่มีชื่อว่า dihydrotestosterone ( DHT ) ทำให้เส้นผมของเรานั้น รีบ เส้นเล็ก และร่วงไปในที่สุด และนี่เองทำให้เส้นผมของเรามีอายุสั้นกว่าปกติ มักจะพบได้ในวัยตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อายุน้อยก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน คุณหมอมีวิธีสังเกต คือ ผมบริเวณต่าง ๆ เช่น ด้านหน้า กลางหัว มีผมที่บางลง และครอบครัวของคุณมีสภาวะผมร่วง ผมบาง เนื่องจากพันธุกรรม
  • สภาวะผมร่วงเป็นหย่อม ๆ  (Alopecia areata, AA) เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทำให้เซลล์รอบรากผมอักเสบ จนไม่สามารถผลิตเส้นผมขึ้นมาใหม่ได้
  • ปัจจัยความเครียดและการเจ็บป่วยที่รุนแรง ความเครียดถือเป็นสาเหตถสำคัญของอาการผมร่วง ความเครียดสะสมติดต่อกันเป็นเวลานาน และอาการเจ็บป่วยรุนแรง เช่น หลังคลอด ไข้เลือดออก 
  • การดึงผมของตัวเอง ที่เกิดจากปัญหาทางจิตใจ (Trichotillomania)
  • ปัจจัยทางร่างกาย ที่เกิดขึ้นจาก แพ้ภูมิตนเอง SLE/DLE (Systemic Lupus Erythematosus, Discoid Lupus Erythematosus)
  • ไทรอยด์ฮอร์โมน เกิดความผิดปกติ
  • การขาดรับประทานอาหาร ไม่ครบหรือไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อเส้นผม เช่น วิตามิน โปรตีน และอื่น ๆ
  • พันธุกรรม ทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด ของเส้นผม
  • โรคติดต่อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส

ลักษณะผมร่วง ผมบาง

ลักษณะผมร่วง ผมบาง ในผู้หญิง

ผมบาง

ผู้หญิงที่มีแนวโน้ม ศีรษะล้านจะสังเกตุได้ เริ่มจากมีอาการผมขาด หลุดร่วงเยอะผิดปกติ ส่วนใหญ่จะเริ่มจากบริเวณกลางศีรษะ สามารถแบ่ง การสังเกตุออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. บริเวณที่ผมบางที่สังเกตุได้ง่ายที่สุดคือ แนวแสกกลางของแนวผม จะสังเกตุได้ว่า แนวผมนั้นกว้างขึ้น และมีผมที่บางลง
  2. สามารถเห็นหนังศีรษะได้ชัดเจนขึ้น นั้นหมายความว่า ผมของท่านได้เริ่มบาง ในบริเวณนั้น
  3. เส้นผมบางมากจนเห็นหนังศีรษะชัดเจน

ลักษณะผมร่วง ผมบาง ในผู้ชาย

ผมบาง

ลักษณะและวิธีการสังเกตุ ผู้ชายที่มีสภาวะผมร่วง ผมบาง สามารถแบ่งลักษณะศีรษะล้านได้ 7 ประเภท คือ

1. ทุ่งหมาหลง จะมีผมเฉพาะด้านข้างและตีนผมด้านหลังเท่านั้น นอกนั้นจะล้านเกือบทั้งหมด และเป็นมันเลื่อม ถ้ามองจากด้านบนจะมองไม่เห็นเส้นผมเลย

2.ดงช้างข้าม จะล้านเป็นทางจากหน้าผากไปถึงบริเวณเกือบท้ายทอย มีผมรอบศีรษะด้านช้างอยู่ ถ้ามองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปตัว U หัวกลับ

3.ง่ามเทโพ ล้านเข้าไปทั้งสองข้างบริเวณหน้าผากเถิกเข้าไปเหมือนง่าม แต่ยังคงมีผมตรงกลางและด้านหลังอยู่

4.ชะโดตีแปลง ศีรษะล้านกลางกระหม่อม หากมองจากด้านบนจะเห็นเส้นผมเป็นวงกลม และตรงกลางล้าน

5.แร้งกระพือปีก ศีรษะล้านเข้าไปทั้งสองข้างบริเวณหน้าผาก คล้ายๆง่ามเทโพ แต่เถิกลึกเข้าไปจนโอบรอบกระหม่อมและบรรจบกัน เหลือเส้นผมเป็นกระจุกอยู่ตรงกลางและบริเวณท้ายทอย

เผยเคล็ดลับ ! 5 วิธีแก้ ผมร่วง ผมบาง ฟื้นฟูผมหนาด้วยวิธีธรรมชาติ

  1. รับประทานอาหารที่มีสารอาหารบำรุงเส้นผม อาหารที่มี วิตามิน บี7 ไมโอติน เหล็ก โปรตีนเป็นต้น จะมีอยู่ในเนื้อสัตว์และผัก หรือเป็นวิตามินอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม และสารเคมี เช่น การย้อม การกลัดผมทำสี
  3. หมั่นออกกำลังกาย และหากิจกรรมทำเพื่อลดความเครียด
  4. ขณะอาบน้ำ หรือสระผม ทำการนวดที่ตีนผมเบา ๆ เป็นประจำ การนวดจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดี และจะช่วยให้เส้นผมงอกได้เร็วขึ้น
  5. ไม่ควรทำกิจกรรมที่รุนแรงต่อเส้นผมขณะผมผเปียก เช่น การเช็ดผมโดยการขยี้แรง ๆ  หวีผมขณะที่ผมเปียก
 
ที่สำคัญสำหรับการ ฟื้นฟูสภาพผมก็คือการดูแลเอาใจใส่เส้นผมของคุณ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดูแลร่ายการตัวเองอยู่เสมอ หากมีเวลาสักนิด ใช้วิธีการนวดที่หนังศีรษะบริเวณที่มีผมบาง ก็จะช่วยกระตุ้นให้ผมงอกได้ หรือมีทางเลือกนั้นก็คือการรับประทานยา แลอาหารเสริม ที่จะช่วยให้ผมของคุณ เเข็งแรง เส้นใหญ่ หนาขึ้น แต่ทั้งนี้ต่อให้คุณรับประทานยา อาหารเสริม และอาหารครบ แต่ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ผมของท่านก็อาจจะอยู่กับท่านไม่นาน ฉนั้นควรทำควบคู่กับไปครับ หากท่านใดมีปัญหาเรื่องเส้นผม หรือสนใจอยาก ปลูกผม จองคิวปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
อยากผมหนา ต้องมาที่ AAC ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
อยากผมหนา ต้องมาที่ AAC ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

หัวข้อในบทความ

อ่านบทความล่าสุด

เลือก หมอปลูกผม ที่ไหนดี

เลือกหมอปลูกผมที่ไหนดี ให้ผลลัพธ์ออกมาสวย แนวผมดูธรรมชาติ

อัปเดตคำถาม ปลูกผม Pantip ตอบคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการปลูกผม

ปลูกผมผู้หญิง

แชร์ประสบการณ์ปลูกผมผู้หญิง ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึง 1 ปี

รับสิทธิ์ส่วนลด 60% ทุกบริการ