ผมร่วงเป็นหย่อม
Home » ผมร่วงเป็นหย่อม สาเหตุเกิดจากอะไร แก้ปัญหาอย่างไร ป้องกันได้หายห่วง

ผมร่วงเป็นหย่อม สาเหตุเกิดจากอะไร แก้ปัญหาอย่างไร ป้องกันได้หายห่วง

เส้นผมและหนังศีรษะของคนเรานับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพภายนอกให้ดูดี ไม่แพ้การแต่งกายเลยทีเดียว หากวันหนึ่งเส้นผมหลุดร่วงจากหนังศีรษะ ทำให้ ผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม ศีรษะล้าน ขึ้นมา ความมั่นใจที่เคยมีก็อาจจะร่วงหล่นตามไปด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วตามธรรมชาติ เมื่อทุกอย่างถึงอายุขัยของมันก็ต้องร่วงโรยไป เส้นผมของเราเองก็เช่นกัน แต่ถ้าจำนวนเส้นผมที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่เท่ากับที่หลุดร่วงไปล่ะก็ ปัญหาหนังศีรษะบางเป็นหย่อม ๆ ก็ต้องตามมาแน่นอน ดังนั้น เราจึงต้องทำความเข้าใจกับโรคผมร่วงนี้ เพื่อหาวิธีแก้ปัญหา ป้องกัน และดูแลเส้นผมของเราให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม

เลือกอ่านหัวข้อในบทความ

โรคผมร่วงเป็นหย่อม คืออะไร ?

โรคผมร่วงเป็นหย่อม หรือ โรคผมร่วงเป็นวง (Alopecia Areata) เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดผมร่วง ผมบาง โดยเชื่อกันว่าเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ไปทำลายต่อมรากผมจนทำให้ผมร่วง โดยอาการอาจเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกายที่มีผมหรือขน เช่น คิ้ว ขนตา หนวดเครา หรือขนรักแร้ เป็นต้น ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักเกิดกับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี โดยโรคนี้จะทำให้ผมร่วงเป็นวงที่หนังศีรษะ ขนาดประมาณเหรียญสิบ มีได้ตั้งแต่ 1 – 2 วง ไปจนถึงหลายวงทั้งศีรษะเลยก็ได้ 

ทั้งนี้ อาการผมร่วงเป็นหย่อมแบบนี้ สามารถหายไปเอง และผมในบริเวณดังกล่าวจะงอกใหม่ได้ในเวลาประมาณ 6 – 12 เดือน แต่บางรายก็อาจไม่งอกเลย และอาการผมร่วงที่มีลักษณะเป็นหย่อมอาจหายไปและกลับมาเป็นได้อีก ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้น เมื่อเป็นโรคผมร่วงนี้ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อ ปลูกผม หรือรักษาให้ผมงอกใหม่และป้องกันการหลุดร่วงในอนาคต หรืออาจตรวจดูให้แน่ใจ เนื่องจากผมร่วงแบบเป็นหย่อมนี้ สามารถเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ด้วย

ผมร่วงเป็นหย่อมๆ

นอกเหนือจากอาการดังกล่าวที่เป็นส่วนหนึ่งของภาวะผมร่วง ในผู้ป่วยบางท่านอาจจะเจออาการที่แตกต่างออกไป แต่เห็นได้ชัดเจนว่าเส้นผมที่ร่วงต่อวันมีจำนวนมาก ก็อาจจะต้องเฝ้าระวัง และหาวิธีป้องกัน เพื่อหยุดอาการผมร่วงไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ส่วนสาเหตุของผมร่วงมีอะไรบ้างนั้น เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราไปดูกันเลยค่ะ

สาเหตุ ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดจากอะไร ?

ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม

สำหรับ สาเหตุ โรคผมร่วงเป็นหย่อม ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่าเกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ทำงานผิดปกติจนทำลายรูขุมขน ทั้งนี้ หากโรคสงบลงแล้วรูขมขุนก็สามารถกลับมาสร้างเส้นขนใหม่ได้ตามปกติ ซึ่งโรคผมร่วงที่มีลักษณะเป็นหย่อมนี้ สามารถแบ่งออกตามตำแหน่งและความรุนแรงได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

– Alopecia Areata (AA) ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ที่ศีรษะ คิ้ว หนวด หรือขนบริเวณใบหน้าและลำตัว

– Alopecia Totalis (AT) ผมร่วงที่เป็นหย่อมจำนวนมาก จนผมร่วงทั่วศีรษะ

– Alopecia Universalis (AU) ผมร่วงกระจายทั่วศีรษะ ร่วมกับมีขนที่บริเวณลำตัว เช่น ขนรักแร้ ขนหัวหน่าวร่วงไปด้วย

ซึ่งโรคผมร่วงแบบเป็นหย่อมนี้ ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์หรือบุคลิกภายนอกได้ โดยเฉพาะในกลุ่ม Alopecia Universalis ที่มีความรุนแรงของโรคนี้มากที่สุด แต่มักจะตอบสนองต่อการรักษาต่าง ๆ น้อยที่สุด

นอกจากนี้ โรคผมร่วงที่มีลักษณะเป็นหย่อม ๆ อาจจะพบร่วมกับโรคต่าง ๆ หรือปัจจัยอื่น ๆ ได้ ซึ่งมักจะพบมากในกรณีที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้ แต่ก็มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่างได้แก่ การเป็นโรคภูมิแพ้ โรคของภูมิคุ้มกันบางชนิด เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ หรือเกิดจากความเครียดสะสมจนอาจจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติได้

โรคอื่น ๆ ที่มักพบร่วมกับ โรคผมร่วงเป็นหย่อม

โรคที่มักพบร่วมกับโรคผมร่วงเป็นหย่อม ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติเช่นเดียวกับโรคผมร่วงที่เป็นหย่อม ซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงทำให้มีอาการ ผมร่วง หรือมีผมร่วงลักษณะเป็นหย่อมร่วมด้วย โดยโรคที่มักพบร่วมกับอาการผมร่วงแบบเป็นหย่อม มีดังนี้

1. โรคเบาหวานประเภทที่ 1

แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้ทำให้เกิดผมร่วงโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติจนไปทำลายเนื้อเยื่อตับอ่อน จึงส่งผลทำให้มีโอกาสที่ภูมิคุ้มกันจะไปทำลายรากผมได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบ และทำให้ผมร่วงที่เป็นหย่อมได้นั่นเอง

2. โรคเกี่ยวกับไทรอยด์

โรคเกี่ยวกับ ไทรอยด์ มีสาเหตุเดียวกันที่ทำให้เกิดผมร่วงนี้ นั่นก็คือ เกิดจากูมิคุ้มกันผิดปกติจนไปทำลายเนื้อเยื่อที่ไทรอยด์ และส่งผลให้รากผมอักเสบนั่นเอง

3. โรคด่างขาว

เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติเช่นกัน โดยจะไปทำลายเซลล์ที่มีชื่อว่า เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตเม็ดสี เมื่อเซลล์เม็ดสีถูกทำลายก็จะส่งผลให้ผิวมีรอยด่าง สีไม่สม่ำเสมอกัน และภูมิคุ้มกันนี้ก็สามารถไปทำลายรากผมจนทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน

4. ภาวะลำไส้เป็นแผล

เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดได้จากทั้งที่ภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ จนอาจจะทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกายทำให้เกิดการอักเสบ รวมทั้งสามารถเกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ไปทำลายเนื้อเยื่อบริเวณลำไส้ของตัวเองได้เช่นกัน

ปัญหาผมร่วงเป็นหย่อม
ผมร่วงกระจายทั่วศีรษะ
การป้องกันผมร่วงเป็นหย่อม

การดูแลรักษา รับมือกับโรคผมร่วงเป็นหย่อม

การดูแล ป้องกัน หรือรับมือกับโรคผมร่วงแบบเป็นหย่อมนั้น คนทั่วไปสามารถดูแลตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจจะเสี่ยงทำให้เป็นโรคนี้ได้ ดังนี้ 

  1. ผ่อนคลายความเครียด เพราะความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ 
  2. สำหรับการรับประทานอาหาร ควรเลือกอาหารที่มีสารบำรุงเส้นผม เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และธาตุสังกะสี เป็นต้น 
  3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดไหลเวียนไม่ปกติ ซึ่งหากอวัยวะต่าง ๆ ไม่ได้รับเลือดเข้ามาไหลเวียนได้อย่างที่ควร ก็จะส่งผลกระทบต่อเซลล์ต่างๆ ตามร่างกาย รวมถึงเซลล์ ผิวหนังและรูขุมขน ทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้ 
  4. การสระผม ควรสระผมอย่างพอดี โดยการสระผม 1 ครั้ง/วัน เพื่อรักษาสมดุลไม่ให้หนังศีรษะแห้งจนเกินไป และไม่ควรลงน้ำหนักมือขยี้ผมแรงจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ผมร่วงมากขึ้นได้ นอกจากนี้ควรสังเกตปริมาณเส้นผมที่หลุดร่วงด้วยว่า มีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด 
  5. ใส่วิก ใส่หมวก หรือเซตผมบริเวณที่เกิดอาการผมร่วงที่ร่วงออกมาเป็นหย่อม เพื่อป้องกันแสงแดดที่จะทำอันตรายต่อผิวหนังศีรษะบริเวณนั้น 

ในส่วนการรักษา โรคผมร่วงเป็นหย่อม สามารถเริ่มต้นด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดแรง ทาบริเวณรอยที่มีผมร่วงออกมาเป็นหย่อมทุกเช้า – เย็น หรือฉีดยาสเตียรอยด์ในบริเวณรอยผมร่วงนี้ทุก 4 สัปดาห์ หรือในรายที่มีอาการรุนแรงอาจใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากผลข้างเคียงของยา และหากรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ไม่ได้ผล แพทย์ก็จะพิจารณาใช้ยาในกลุ่มอื่นต่อไป

เมื่อได้รู้ถึงสาเหตุของ โรคผมร่วงที่เป็นหย่อมแล้ว การรู้จักป้องกัน ดูแลเอาใจใส่หนังศีรษะของตัวเองให้ดี เพื่อไม่เกิดอาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก แต่หากเมื่อเกิดอาการผมร่วงแบบเป็นหย่อมขึ้นแล้ว สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือการรีบไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโดยด่วน เพื่อที่จะได้คำแนะนำและวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละคน ทั้งนี้ ท่านใดมีปัญหาด้านเส้นผม ปลูกผม สามารถปรึกษากับ AAC Medical Hair Center ปลูกผม รักษาผมร่วง ผมบาง by หมอพอล ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ปรึกษาหมอฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
สแกน QR Code หรือแอดไลน์ Official @aacthailand (มีแอดด้านหน้า)
ปรึกษาหมอฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
สแกน QR Code หรือแอดไลน์ Official @aacthailand (มีแอดด้านหน้า)