รู้หรือไม่ว่า คนเราสามารถมีผมหลุดร่วงได้ในทุกวัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ โดยทั่วไปในหนึ่งวันจะผมร่วงประมาณ 50-100 เส้น เพราะวงจรชีวิตของเส้นผมจะมีการสร้างผมเส้นใหม่ขึ้นมาได้เรื่อย ๆ แต่เมื่อคนเราอายุมากขึ้น หรือเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป วงจรชีวิตเส้นผมก็จะเริ่มสั้นลง ผมก็จะร่วงถี่ขึ้นได้ แต่หากพบว่าผมเริ่มร่วงเยอะผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ จนทำให้เกิดผมบาง และศีรษะล้านตามมา สิ่งนี้ก็อาจจะเกิดจากสาเหตุผมร่วงเพราะฮอร์โมนได้
ซึ่งในปัจจุบันกว่า 50% ของคนที่มีอาการศีรษะล้านมักมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและฮอร์โมนที่มีชื่อว่า DHT นั่นเอง แล้วฮอร์โมนนี้คืออะไร ทำร้ายเส้นผมของเราได้ยังไง และจะมีวิธีการรักษาผมร่วงเพราะฮอร์โมนอย่างไรได้บ้าง วันนี้เรา All About Clinic จะพาทุกคนไปหาคำตอบในบทความนี้กันค่ะ
ฮอร์โมน DHT หรือ ฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) คือ ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญตัวหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้นจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ในร่างกาย โดยมีเอ็นไซม์ 5-Alpha reductase (5-AR) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เปลี่ยนเป็นฮอร์โมน DHT โดยหน้าที่ของฮอร์โมน DHT จะคอยควบคุมผมและขนเป็นส่วนใหญ่ และเป็นตัวสร้างลักษณะเด่นของเพศชาย เช่น หนวด เครา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสูงและน้ำหนัก เป็นต้น แต่หาก DHT มีความแปรปรวน จะทำให้ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้เซลส์รากผมฝ่อลง แล้วจะส่งผลทำให้เส้นผมเข้าสู่ระยะพักตัวเร็วขึ้น และผมเก่าก็จะไม่มีอาหารไปหล่อเลี้ยง ทำให้เส้นผมค่อย ๆ มีขนาดเล็กและลีบลง จนเกิดเป็นผมบางลง และผมร่วงจนศีรษะล้านได้ในที่สุด
โดยในเพศหญิงเองก็สามารถมีฮอร์โมนตัวนี้ได้เช่นกัน แต่อาจจะมีไม่มากเท่ากับเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงจะมีปริมาณของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เป็นตัวตั้งต้นในการผลิต DHT ได้น้อยกว่านั่นเอง
ข้อดีของฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรนนั้น หากมีในปริมาณที่พอดี ไม่ได้มีมากจนส่งผลกระทบต่อเส้นผม ก็จะช่วยทำให้ต่อมไขมันบนผิวหนังและหนังศีรษะทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว ส่งผลให้ผิวของเราและผิวหนังบนหนังศีรษะมีความชุ่มชื้น ผิวไม่แห้งกร้าน หรือไม่เกิดรังแค ทำให้ผิวและเส้นผมแข็งแรง ดูสุขภาพดีอย่างเป็นธรรมชาติ
ฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรนถ้ามีมากก็ส่งผลเสียต่อเส้นผม หากมีน้อยก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน ซึ่งผลเสียต่าง ๆ ได้แก่
ถึงแม้ว่าฮอร์โมน DHT จะเป็นฮอร์โมนเพศชาย แต่ในผู้หญิงก็สามารถพบฮอร์โมนนี้ได้เช่นกัน ซึ่งจะพบได้น้อยกว่าในเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เป็นตัวตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมน DHT ปริมาณที่น้อยกว่า และในร่างกายของผู้หญิงยังมีเอนไซม์ที่ชื่อว่าไซโตโครมพี 450 (Cytochrome P450) ที่จะเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่า เอสตราดิออล (Estrodiole) ที่จะคอยต่อต้านการทำงานของ DHT ให้มีปริมาณน้อย อีกทั้งในเพศหญิงยังมีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับเส้นผมด้วย ผู้หญิงจึงพบปัญหาผมร่วงเพราะฮอร์โมนได้น้อยกว่าผู้ชาย โดยผมร่วงในผู้หญิง มักจะมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม หรือจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เช่น ภาวะหลังคลอด การกิน ฉีด ฝัง ยาคุมกำเนิด และวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
ปัญหาผมบาง ผมร่วงเพราะฮอร์โมนนี้ จะเกิดจากการที่ฮอร์โมน DHT จะเข้าไปจับกับตัวรับฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน (Androgen receptor) ที่อยู่ในเซลล์รากผมบนหนังศีรษะ ซึ่งมักจะพบได้มากในบริเวณขมับและกลางกระหม่อม และจะทำให้วงจรชีวิตของเส้นผมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปกติเส้นผมจะมีระยะเจริญเติบโตประมาณ 2-6 ปี ก่อนจะเข้าสู่ระยะพักเป็นเวลาประมาณ 1-4 เดือน แต่เมื่อรากผมได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมน DHT ก็จะทำให้เส้นผมมีระยะเจริญเติบโตที่สั้นลงและมีระยะพักที่นานขึ้น หลังจากนั้นระยะพักจะค่อย ๆ นานขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รากผมสร้างเส้นผมได้น้อยลงไป
นอกจากนี้ฮอร์โมน DHT ยังทำให้รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะเล็กลง จึงทำให้เซลล์รากผมมีขนาดแคบลง และยังไปยับยั้งกระบวนการสร้างของเส้นผม ส่งผลทำให้ผมร่วง ผมบาง ผมที่งอกขึ้นใหม่ก็จะเป็นเส้นเล็ก และหากยิ่งมีปัญหาผมร่วงจากพันธุกรรมอยู่แล้ว ก็จะทำให้ Androgen receptor ที่รากผมทำงานได้ดีมากขึ้นและจะไวต่อฮอร์โมน DHT ส่งผลให้เกิดผมร่วงมากขึ้น จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะศีรษะล้านได้
อีกทั้งฮอร์โมน DHT ยังส่งผลกระทบต่อการทำให้เส้นเลือดหดตัว จึงทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมได้น้อยลง ออกซิเจนก็จะส่งไปถึงเซลล์รากผมได้น้อยลงด้วย และจะทำให้เซลล์รากผมไม่สามารถทำงานและผลิตเส้นผมใหม่ได้อย่างเต็มที่ ผมก็จะมีเส้นเล็กและอ่อนแอลงตามไปนั่นเอง
อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติมที่ : ผมร่วงเยอะมาก เกิดจากอะไร รวม 5 สาเหตุผมร่วงที่ควรหลีกเลี่ยง
อย่างไรที่ได้กล่าวไปข้างต้น การมีฮอร์โมน DHT ที่มากเกินไปจะส่งผลทำให้เกิดผมร่วงเยอะมาก และอาจส่งผลทำให้ศีรษะล้านได้ ซึ่งอาการผมร่วงจากฮอร์โมนนี้ก็อาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถแก้ไขด้วยการลดปริมาณฮอร์โมนชนิดนี้ลง ซึ่งการดูแลรักษาผมร่วงที่เกิดจากฮอร์โมนก็สามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วยกัน โดยมีดังนี้
สำหรับการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ หรืออาหารที่จะช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรงขึ้น เป็นวิธีที่สามารถทำด้วยตัวเองง่าย ๆ ซึ่งสารอาหารประเภท สังกะสี จะช่วยให้หนังศีรษะและเส้นผมมีสุขภาพดี พร้อมทั้งเข้าไปขัดขวางกระบวนการเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนไปเป็น DHT และช่วยให้เส้นผมเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้สารอาหารประเภทวิตามินบี 7 หรือไบโอติน (Biotin) จะช่วยให้รากผมแข็งแรง ทนต่อผลกระทบของฮอร์โมน DHT ได้เป็นอย่างดีด้วย โดยสามารถรับประทานสารอาหารเหล่านี้ได้ในผักใบเขียว ผลไม้ หอยนางรม เนื้อวัว ปลาไขมันสูง จมูกข้าวสาลี ถั่ว ธัญพืช และนมไขมันต่ำ
หากต้องการลดระดับฮอร์โมน DHT ลง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถช่วยได้ เนื่องจากพฤติกรรมบางอย่างอาจจะส่งผลทำให้ DHT มีความรุนแรงและทำให้เกิดปัญหาผมร่วงมากขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้ความร้อนและสารเคมีกับเส้นผมบ่อย ๆ และการมีความเครียดก็สามารถมีผลต่อสมดุลฮอร์โมนได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรลดพฤติกรรมเหล่านี้ แล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ทั้งการงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ นวดกระตุ้นหนังศีรษะเป็นประจำ การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด เป็นต้น
วิธีที่จะช่วยให้ได้ผมหนาคืนมา และแก้ปัญหาศีรษะล้านได้ดีที่สุด คือ การปลูกผม โดยแพทย์จะทำผ่าตัดปลูกผมด้วยการนำเส้นผมบริเวณท้ายทอย หรือหลังกกหู ย้ายมาปลูกในบริเวณที่ศีรษะล้าน หรือมีผมบาง ซึ่งการนำรากผมจากบริเวณท้ายทอยหรือบริเวณหลังศีรษะมาปลูกนั้น เนื่องจากเส้นผมบริเวณด้านหลังศีรษะจะไม่มี Androgen receptor ทำให้ไม่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมน DHT เส้นผมจึงมีความแข็งแรง สามารถนำมาปลูกในบริเวณที่มีปัญหาได้ดีและมีประสิทธิภาพ
ผมร่วงจากฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย แต่ก็สามารถมีในเพศหญิงได้เช่นกัน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะส่งผลต่อการเกิดผมร่วง ผมบาง และทำให้ศีรษะล้านได้ ซึ่งคุณก็สามารถดูแลรักษาผมร่วงที่เกิดจากฮอร์โมนนี้ได้ด้วยตัวเอง ตามที่เราได้แนะนำวิธีการรักษาไปแล้ว แต่ก่อนที่จะทำการรักษาด้วยการทานยาแก้ผมร่วง เราขอแนะนำให้คุณปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้หากเกิดปัญหาผมร่วงมาก ๆ ทางที่ดีให้เข้ามาปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเส้นผม เพื่อหาวิธีการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุดค่ะ
ท่านที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผม ผมร่วง ผมบาง อยากปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถปรึกษากับหมอพอลได้ที่ : Line @AACTHAILAND