Home » ผมร่วง มากแค่ไหน ที่เรียกว่าผิดปกติ ?

ผมร่วง มากแค่ไหน ที่เรียกว่าผิดปกติ ?

ผมร่วง เป็นสาเหตุของ หัวล้าน ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในวัย 30 ปีขึ้นไป จะยิ่งสังเกตเห็นได้ชัดขึ้นว่า ผมบาง ความหนาแน่นของผมลดน้อยลง ผมหลุดร่วงเยอะมากขึ้น ส่งผลต่อภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ และส่งผลต่อความมั่นใจ ในครั้งนี้ทาง AAC จะมาแนะนำวิธีตรวจหนังศีรษะ และเส้นผม ที่จะช่วยตรวจเช็ค อาการผมร่วง ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน เพื่อที่จะแก้ไขอาการผมร่วงได้อย่างทันท่วงที ช่วยทำให้ผมกลับมาสุขภาพดี กลับมามีควาหนาแน่นอีกครั้ง

เลือกอ่านหัวข้อในบทความ

อาการผมร่วง

ผมร่วง เป็นเรื่องปกติ ที่เกิดขึ้นได้ ผมที่ร่วงไปจะมีเส้นใหม่เกิดขึ้นมาทดแทน ไปตามวงจรชีวิตของเส้นผม และเส้นผมของคนเราจะมีความหนาแน่น และมีเส้นผมขนาดใหญ่ที่สุดจนกระทั่ง เข้าสู่ช่วงวัยอายุ 30 ปี ความหนาแน่นของเส้นผมจะลดลง เส้นผมมีขนาดเล็กลง และวงจรชีวิตของเส้นผมก็สั้นลง ผมจึงร่วงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผมเริ่มบางลง จนส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของใครหลาย ๆ คน แล้วผมร่วงมากแค่ไหน ถึงจะเรียกว่า ผิดปกติ ?

ผมร่วงแบบปกติ

โดยทั่วไปแล้วผมจะร่วงในทุกวันเป็นปกติ ซึ่งจะสามารถร่วงได้วันละ 100-150 เส้น เมื่อเทียบกับเส้นผมทั้งหมดที่มีมากถึง 1 แสนเส้น การร่วงของเส้นผมเพียง 0.001 เปอร์เซ็นต์ ที่นับว่าน้อยมาก ๆ จึงทำให้เราแทบไม่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง อาการผมร่วง แบบปกติ จึงยังไม่จำเป็นต้องรับการรักษา เพียงแค่ดูแลเส้นผมให้ดี ก็เพียงพอแล้ว

ผมร่วงมากแบบผิดปกติ

ผมที่หลุดร่วงมากแบบผิดปกติ อาจจะเกิดจากภาวะอาการผมร่วงเฉียบพลัน คือ ผมที่ร่วงมากกว่าวันละ 200 เส้น หรืออาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ จนขยายวงกว้างออก ซึ่งมีขนาดเท่าเหรียญ 10 บาท ซึ่งอาการผมร่วงสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

  • Androgenetic alopecia : อาการผมร่วงที่พบได้มากที่สุด เกิดขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง สาเหตุมาจากพันธุกรรม และฮอร์โมน ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปแบบของผมบาง หัวล้านที่บริเวณกระหม่อม หรือมีไรผมด้านหน้าที่เว้าลึกเข้าไป
  • Alopecia areata : อาการผมร่วงเป็นหย่อม ซึ่งเกิดจากผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ส่งผลให้ผมร่วงเป็นกระจุก ๆ จนเห็นหนังศีรษะเป็นหย่อม ๆ ภาะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย
  • Telogen effluvium : อาการผมร่วงมากแบบผิดปกติ ที่เป็นการร่วงแบบชั่วคราว อาการที่พบ คือ ผมจะร่วงเป็นกระจุกใหญ่ สาเหตุที่ผมร่วงมากขนาดนี้ เกิดจากความเครียด
ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน
ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน

วิธีตรวจหนังศีรษะ และเส้นผม ด้วยตัวเอง

สำหรับใครที่รู้สึกว่าผมร่วงบ่อย หรือเริ่มรู้สึกว่าผมร่วงเยอะมากกว่าปกติ สามารถทำตามคำแนะนำด้านล่างนี้ เพื่อตรวจเส้นผม และหนังศีรษะได้ด้วยตนเอง ดังนี้

  • การดึงช่อผม : ใช้นิ้วมือหยิบเส้นผมมา 1 ช่อ หรือประมาณ 60 เส้น จากนั้นทำการดึง โดยที่ไม่ต้องออกแรงมาก และสังเกตว่า หลังจากที่ดึงมีเส้นผมหลุดติดมามากกว่า 6 เส้นหรือไม่ ถ้าเส้นผมหลุดมานั้นมากกว่า 6 เส้น แปลว่าอาจจะเกิดภาวะผมร่วงได้ อาจจะต้องทำการรักษา หรือดูแลเส้นผมเพื่อลดการหลุดร่วงของเส้นผม
  • การเก็บรวบรวมและนับเส้นผม : วิธีนี้อาจจะต้องมีอุปกรณ์ช่วย และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการสังเกต คือ ในแต่ละวันจะต้องมีการเก็บรวบรวมเส้นผมที่ร่วง อาจจะเก็บใส่ซองพลาสติดใส และต้องรวบรวมให้ครบ 7 วัน หากพบว่าผมร่วงมากเกินกว่าปกติ ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อขอรับคำปรึกษา และวางแผนการรักษาต่อไป
จองคิวปรึกษาหมอ Consult Online
จองคิวปรึกษาหมอ Consult Online ฟรี

การดูแลเส้นผม และหนังศีรษะ

การดูแลเส้นผม และหนังศีรษะที่ดี และเหมาะสมจะช่วยทำให้เส้นผม หลุดร่วง ลดน้อยลง เป็นการถนอมเส้นผมให้ดูเงางาม ผมสุขภาพดี ซึ่งสามารถปฏิบัติตามได้ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการมัดผมที่แน่นมากจนเกินไป ไม่ดึงผม หรือขยี้หนังศีรษะที่แรงมากจนเกินไป
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และต้องได้รับโปรตีน และธาตุเหล็กในปริมาณที่เพียงพอ
  • เลือกใช้ยาสระผมที่อ่อนโยนต่อเส้นผม และหนังศีรษะ เพื่อลดอาการแพ้ ผื่นบนหนังศีรษะ ลดการเกิดรังแค
  • หลีกเลี่ยงการจัดแต่งทรงผมด้วยความร้อน และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพื่อเปลี่ยนสีผม
  • ความเครียด ส่งผลทำให้ผมร่วง การหลีกเลี่ยงความเครียด การผ่อนคลายความเครียด จึงเป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้ผมร่วงลดน้อยลง
  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยทำให้ร่างกายได้ซ่อมแซม ฟื้นฟู เซลล์ผมที่เสื่อมสภาพ ทำให้เส้นผมแข็งแรง สุขภาพดี

การรักษาอาการผมร่วง ผมบาง

วิธีการรักษาอาการผมร่วง ผมบาง ในปัจจุบันมีด้วยกันอยู่หลายวิธี ซึ่งการรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสมจะต้อง เข้ารับการปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของอาการผมร่วง การตรวจสภาพเส้นผม ซึงวิธีการรักษาอาการผมร่วงมี ดังนี้

  • ยา : ยาที่ใช้ในการรักษาผมร่วงในระยะเริ่มต้น จะมีทั้งยาที่ใช้สำหรับทา และยาที่ใช้รับประทาน ซึ่งต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะตัวยามีผลข้างเคียง
  • การปรับฮอร์โมน : การใช้วิธีนี้จะเป็นการรักษาภาวะผมร่วง ที่เกิดจากฮอร์โมน หรือในกรณีผมร่วงจากภาวะ ฮอร์โมนบกพร่อง
  • การทำเลเซอร์ : การทำเลเซอร์ เพื่อช่วยกระตุ้นเซลล์รากผม ทำให้เส้นผมที่เกิดใหม่นั้นแข็งแรง ใช้เลเซอร์ในการซ่อมแซม ฟื้นฟูเซลล์รากผมที่เสื่อมสภาพ
  • การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น : Blood Platelet Activation หรือ BPA จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผม ทำให้เซลล์ที่เสื่อมสภาพกลับมาทำงานได้ดีขึ้น
  • การปลูกผม : การเจาะเอารากผมที่บริเวณท้ายทอย จากนั้นจึงย้ายรากผมไปใช้ปลูก ลงในบริเวณที่ต้องการ เพื่อแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง

และใครที่กำลังเจอกับปัญหาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน และไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มดูแลเส้นผม และหนังศีรษะอย่างไร ที่ AAC มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านการปลูกผม การดูแลเส้นผม พร้อมให้คำปรึกษา ที่คลินิกเรามีเครื่องตรวจสภาพเส้นผมที่ตรวจ วิเคราะห์ปัญหาเส้นผม หนังศีรษะได้อย่างแม่นยำ พร้อมวางแผนการรักษากับทีมแพทย์ได้อย่างตรงจุด และสำหรับลูกค้าที่อ่านบทความนี้ จะได้รับโปรโมชั่นสุดพิเศษจากทางคลินิกอีกด้วย