เจาะลึก รากผมไม่แข็งแรง เกิดจากอะไร สามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง
Home » รากผมไม่แข็งแรง มีสาเหตุจากอะไร ? แนะนำวิธีแก้ไขก่อนสายเกินแก้

รากผมไม่แข็งแรง มีสาเหตุจากอะไร ? แนะนำวิธีแก้ไขก่อนสายเกินแก้

ผมบางลง ร่วงง่ายขึ้น อีกหนึ่งสาเหตุนั้นอาจจะมาจาก รากผมไม่แข็งแรง อ่อนแอ และฝ่อเล็กลง ทำให้ไม่ว่าจะหวีผม สางผม หรือตอนสระผมก็พบผมร่วงเยอะมากผิดปกติ โดยปัญหารากผมอ่อนแอนั้น มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหนังศีรษะไม่พอ และทำให้รากผมฝ่อในที่สุด วันนี้เราก็จะพาไปดูกัน ว่าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และวิธีแก้ไข หรือบำรุงให้ผมแข็งแรง ไม่หลุดร่วงนั้น มีวิธีการอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

เลือกอ่านหัวข้อในบทความ

ทำความรู้จักกับรากผม

รากผม หรือ hair root เป็นส่วนหนึ่งของเส้นผมที่ฝังอยู่ภายใต้หนังศีรษะ มีส่วนประกอบที่ติดกับเส้นเลือดฝอย ที่เรียกว่า Hair Bulb โดยตัว Hair Bulb นี้จะเชื่อมเข้ากับเซลล์เนื้อเยื่อ ที่มีลักษณะเหมือนกับนิ้วเล็กๆ ที่รู้จักกันในชื่อของปุ่มปลายแหลม(Papilla) ตัวปุ่มนี้ทำหน้าที่สำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของรากผม เพราะมีเส้นเลือด และเส้นประสาทที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหาร สำหรับช่วยในการแบ่งตัวและสร้างเซลล์ผมใหม่

 

ซึ่งการที่รากผมฝ่อหรือไม่แข็งแรงนั้น ก็เป็นสาเหตุมาจากปุ่มปลายแหลมบริเวณรากผมฝ่อ หรือตาย ทำให้ไม่สามารถลำเลียงสารอาหารได้ ทำให้เซลล์ผมไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่ม หรือลำเลียงสารอาหารไม่เพียงพอต่อการสร้างผมเส้นใหม่ไปทดแทนผมที่หลุดร่วงไป จึงเกิดเป็นปัญหาศีรษะล้าน ผมบางในที่สุด

รากผมไม่แข็งแรง สาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

รากผมฝ่อจากฮอร์โมน

ฮอร์โมน DHT เป็นฮอร์โมนที่พบได้มากในผู้ชายที่สร้างขึ้นจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมน DHT ทำหน้าที่ในการควบคุมการเกิดของเส้นผม ขน หนวด เครา หรือสร้างลักษณะเด่นของเพศชาย แต่หากฮอร์โมน DHT นี้มีความแปรปรวนหรือผิดปกติ จะทำให้รากผมมีการฝ่อตัวลง เนื่องจากฮอร์โมนนี้จะไปออกฤทธิ์ยังบริเวณรากผม ส่งผลให้รากผมฝ่อเล็กลง จนไม่สามารถลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงเส้นผมได้อย่างเต็มที่

เจาะลึก รากผมไม่แข็งแรง เกิดจากอะไร สามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

รากผมฝ่อจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ

ปัญหานี้สาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันหรือเซลล์เม็ดเลือดขาวมีการต่อต้านรากผม ส่งผลให้เกิดรากผมอักเสบแบบเฉียบพลัน และทำให้เกิดภาวะผมร่วงเป็นหย่อม ที่พบได้มากมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัว เช่น โรคซิฟิลิสระยะสอง หรือการเกิดอาการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน เช่น มีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบได้ในโรคต่อไปนี้

  • โรคดีแลอี (Discoid Lupus Erythematosus)

รากผมไม่แข็งแรงจากวัยที่เพิ่มขึ้น

ปัญหานี้สามารถพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เซลล์ต่าง ๆ เริ่มเสื่อมสภาพ เช่นเดียวกับเซลล์รากผมที่มีขนาดเล็กลง และเกิดการเสื่อมสภาพไปตามวัย

การทำลายเส้นผมและหนังศีรษะจากปัจจัยอื่น ๆ

สุขภาพรากผมที่ดีนั้น เริ่มต้นจากการดูแลหนังศีรษะและเส้นผมอย่างถูกวิธี แต่หากท่านละเลยการดูแลสุขภาพหนังศีรษะ เช่น การใช้ความร้อนต่อเส้นผมเป็นเวลานาน , การทำเคมี ดัด ย้อมสีผม , การสระผมที่ผิดวิธี , การเกาหนังศีรษะแรง ๆ หรือแม้แต่การว่ายน้ำในสระที่มีการผสสมคลอรีนอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเหล่านี้ก็สามารถส่งผลให้เกิดภาวะปุ่มรากผมอักเสบ  (Scalp Folliculitis) และหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ก็จะทำให้รากผมไม่แข็งแรงและเกิดผมร่วงในที่สุด

วิธีแก้ไขรากผมไม่แข็งแรง ที่ได้ผลจริง

ผมหนา สุขภาพดี เริ่มต้นที่การมีรากผมแข็งแรง หลังจากได้อ่านหัวข้อที่แล้ว ว่า สาเหตุของการเกิดรากผมฝ่อเกิดจากอะไรได้บ้างนั้น นอกจากการปรึกษาเข้าพบแพทย์เพื่อคัดกรองโรค และเข้ารับการรักษาแล้วนั้น ก็เริ่มดูแลได้ด้วยตัวเองที่บ้าน เพื่อฟื้นบำรุงรากผมให้แข็งแรงอีกครั้ง ดังนี้

เจาะลึก รากผมไม่แข็งแรง เกิดจากอะไร สามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

1. การทานยาหรือวิตามินที่หยุดลดการทำงานของฮอร์โมน DHT

วิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง สำหรับผู้ที่มีอาการผมร่วงจากฮอร์โมน โดยยาที่นิยมใช้เพื่อแก้ปัญหาจะเป็นตัวยา Finasteride แต่ทั้งนี้แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่สามารถพบได้คือ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แต่จะพบเพียงระยะแรก ๆ หลังจากใช้ยาเท่านั้น

2. งดทำพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อหนังศีรษะ

การงดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่สามารถส่งผลเสียต่อหนังศีรษะได้นั้น เป็นการช่วยแก้ปัญหารากผมไม่แข็งแรง นอกจากนี้หากเพิ่มการดูแลหนังศีรษะเช่นการนวดกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต หรือการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้สารอาหารไปเลี้ยงเส้นผมได้อย่างเต็มที่ ก็จะช่วยบำรุงรากผมได้อีกค่ะ

3. การทำ PRP

อีกหนึ่งวิธีที่การันตีว่าช่วยบำรุงรากผมได้อย่างเห็นผล คือ การทำ PRP คือ วิธีที่นำเอาเลือดไปปั่น เพื่อให้เกิดการแยกชั้น และนำเอาเฉพาะเกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Rich Plasma) ฉีดกลับเข้าไปบริเวณศีรษะ เพื่อให้สารอาหารสามารถไปบำรุงเลี้ยงรากผมได้อย่างเต็มที่

4. การเข้าร่วมโปรแกรมรักษาผมร่วง

การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุที่มาของการเกิดรากผมฝ่อ เป็นทางเลือกที่ถือว่าตอบโจทย์ เพราะสามารถรักษาได้อย่างตรงจุด เพราะบางทีนั้นเราอาจจะเลือกรักษาเองโดยที่ไม่ได้รู้ต้นเหตุที่แท้จริง ทำให้การรักษายืดเยื้อ และอาจจะสูญเสียรากผมจนเกิดเป็นภาวะหัวล้าน แนะนำวิธีรักษาด้วยโปรแกรม Anti Hair Loss ที่จะช่วยวิเคราะห์สาเหตุและแก้ปัญหาเส้นผมที่เหมาะกับแต่ละเคสได้แบบตรงจุด

5. การปลูกผม

การปลูกผม เป็นหนทางรักษาที่ได้ผลเร็ว ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปัญหารากผมฝ่อจากฮอร์โมน หรือ กรรมพันธุ์ ที่ในบางครั้งการทานยาอาจจะไม่ได้ผลเสมอไป การย้ายรากผมที่แข็งแรงมาปลูกในบริเวณที่รากผมฝ่อ หรือหยุดการเจริญเติบโต จะช่วยแก้ไขภาวะศีรษะล้าน ผมบางจากรากผมอ่อนแอได้แบบถาวร 

ส่งท้าย

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับบทความที่เราพาไปเช็คสาเหตุของรากผมไม่แข็งแรง จะเห็นได้ว่าการที่รากผมเราอ่อนแอนั้น ส่งผลต่อเส้นผมมากว่าที่คิด เพราะรากผมเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการลำเลียงสารอาหาร หากเกิดปัญหาบริเวณรากผมแล้ว นอกจากผมจะร่วง เส้นเล็กลง และหัวบางลงแล้ว สุขภาพเส้นผมก็จะเสีย ขาดความเงางามตามไปด้วย

ดังนั้นแล้ว นอกจากการบำรุงปลายผม รากผมก็สำคัญ อย่าลืมนวดเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบนหนังศีรษะเบา ๆ เป็นประจำ รวมถึงทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงหนังศีรษะ ด้วยนะคะ ส่วนใครที่อยากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำที่ All About Clinic ได้เลย เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมและหนังศีรษะโดยเฉพาะ ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

หัวข้อในบทความ

อ่านบทความล่าสุด

เลือก หมอปลูกผม ที่ไหนดี

เลือกหมอปลูกผมที่ไหนดี ให้ผลลัพธ์ออกมาสวย แนวผมดูธรรมชาติ

อัปเดตคำถาม ปลูกผม Pantip ตอบคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการปลูกผม

ปลูกผมผู้หญิง

แชร์ประสบการณ์ปลูกผมผู้หญิง ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึง 1 ปี

รับสิทธิ์ส่วนลด 60% ทุกบริการ

อยากผมหนา ต้องมาที่ AAC ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
อยากผมหนา ต้องมาที่ AAC ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย