วิธีแก้เล็บขบ ให้หายขาด พร้อมเทคนิคสังเกตอาการเล็บขบเบื้องต้น​

วิธีแก้เล็บขบ ให้หายขาด พร้อมเทคนิคสังเกตอาการเล็บขบเบื้องต้น

เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่าสาเหตุการเกิดเล็บขบที่มักพบได้บ่อยมาจากการที่เราตัดเล็บสั้นจนเกินไป ซึ่งสามารถเกิดเล็บขบได้ทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดที่นิ้วหัวแม่เท้า รวมทั้งการใส่ถุงเท้าที่รัดแน่น และการสวมรองเท้าที่คับจนทำให้เกิดการกดทับเล็บเท้า ส่งผลให้นิ้วเท้าได้รับบาดเจ็บ มีอาการบวม แดง หรืออาจจะเกิดการติดเชื้อจนมีหนองขึ้นได้ ไม่เพียงเท่านี้การที่เราไม่ได้ดูแลสุขอนามัยของเท้าก็อาจทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคและติดเชื้อได้ง่ายด้วย 

ถ้าหากใครไม่อยากทรมานจากการเจ็บปวดก็ต้องหา วิธีแก้เล็บขบ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ก็ต้องรู้จักสังเกตอาการของเล็บขบตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อรักษาและป้องกันไว้ก่อนที่จะรุนแรง วันนี้เรา All About Clinic จึงจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักวิธีการสังเกตเท้าของตัวเองเบื้องต้นว่าใช่อาการเล็บขบหรือไม่ จะเป็นยังไงไปดูกันเลย

เลือกอ่านหัวข้อในบทความ

เทคนิคสังเกตอาการเล็บขบ

หากเกิดความสงสัยว่านิ้วเท้าของเราที่ได้รับบาดเจ็บและรู้สึกปวดจะมีอาการของเล็บขบหรือไม่ สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะหาวิธีแก้เล็บขบได้อย่างโดยด่วน โดยมีดังนี้

วิธีแก้เล็บขบ ให้หายขาด พร้อมเทคนิคสังเกตอาการเล็บขบเบื้องต้น​

1. สังเกตความบวมของนิ้ว

ให้สังเกตดูว่านิ้วเท้ามีอาการบวมหรือไม่ เพราะเล็บขบมักจะทำให้เนื้อหรือผิวหนังบริเวณข้าง ๆ เล็บบวมนูนขึ้นมา โดยสามารถสังเกตง่าย ๆ ด้วยการเปรียบเทียบนิ้วเท้าทั้งสองข้าง หรือเทียบกับนิ้วอื่น ๆ ดูว่ามีอาการบวมมากกว่าปกติแตกต่างจากนิ้วอื่นไหม

2. จับบริเวณนิ้วแล้วรู้สึกเจ็บ

สามารถลองจับบริเวณนิ้วที่สงสัยว่าเป็นเล็บขบ เพราะถ้าจับแล้วมีอาการเจ็บ หรือแตะแล้วปวดมาก หรือเอานิ้วกดลงไปบริเวณผิวเนื้อรอบ ๆ เล็บแล้วเจ็บมาก ๆ หรือแตะเบา ๆ ก็ไวต่อความรู้สึก ก็อาจจะเริ่มมีอาการของเล็บขบแล้ว สามารถนำกรรไกรมาตัดเล็บส่วนเกินออกได้ ซึ่งบางครั้งอาการบวมของเล็บขบนี้อาจจะมีหนองออกมานิดหน่อย ก็จะทำให้สังเกตได้ง่ายขึ้น

3. สังเกตจากมุมของเล็บว่าอยู่บริเวณไหน

หากสังเกตเห็นเล็บไม่ค่อยชัด หรือไม่เห็นมุมของเล็บด้านบน ก็ถือว่าเริ่มเป็นเล็บขบแล้ว เพราะอาการของเล็บขบจะทำให้เล็บจิกเข้าไปในเนื้อบริเวณข้าง ๆ หรือเนื้อด้านข้างอาจจะบวมขึ้นมา จนทำให้หาขอบของเล็บไม่ค่อยเจอหรือมองเห็นไม่ชัดนั่นเอง

4. ปรึกษาคุณหมอเพื่อความแน่ใจ

หากไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นเล็บขบหรือไม่ แนะนำให้เข้าไปปรึกษากับคุณหมอเฉพาะทาง เพื่อที่คุณหมอจะสามารถตรวจหาสาเหตุและวิธีแก้เล็บขบได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

5. เป็นเล็บขบไม่ควรปล่อยไว้จนอาการหนัก

หากแน่ใจแล้วว่าตัวเองมีอาการของเล็บขบ จำเป็นต้องรีบหาวิธีแก้เล็บขบ หรือเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน ไม่ควรปล่อยไว้นานจนอาการรุนแรง เนื่องจากจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่ทำให้ปลายประสาทอักเสบ (neuropathy) หรือเส้นประสาทเสียหาย เพราะโรคประจำตัวประเทนี้จะทำให้เลือดไม่ค่อยไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณขาหรือเท้า และไม่แนะนำให้ทำการตัดเล็บขบด้วยตัวเอง 

วิธีแก้เล็บขบ ทำอย่างไรได้บ้าง

การรักษาเล็บขบหรือวิธีแก้เล็บขบสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองเบื้องต้น หากยังมีอาการไม่รุนแรงมากนัก และการแก้ไขด้วยเทคนิคทางการแพทย์ด้วยการเอาเล็บออก หากมีการอักเสบติดเชื้อขั้นรุนแรงและมีหนองไหล

วิธีแก้เล็บขบ ให้หายขาด พร้อมเทคนิคสังเกตอาการเล็บขบเบื้องต้น​

1. การรักษาและป้องกันเล็บขบด้วยตัวเองเบื้องต้น

  • ไม่ควรตัดเล็บให้สั้นหรือชิดขอบเล็บมากเกินไป และไม่ควรใส่รองเท้าที่คับหรือรัดแน่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการกดทับเล็บและส่งผลให้เป็นเล็บขบ และอาจตามมาด้วยอาการอักเสบของขอบเล็บได้
  • แช่เท้าด้วยน้ำอุ่นประมาณ 10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง และหลังแช่ให้เช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้ง การแช่น้ำอุ่นจะช่วยบรรเทาอาการปวด บวม และกดเจ็บได้
  • หลังแช่เท้าในน้ำจะช่วยให้เล็บนิ่มขึ้น สามารถใช้สำลีแผ่นหรือไหมขัดฟันสอดยกขอบเล็บขึ้นมาได้ง่ายขึ้น เพื่อไม่ให้เล็บงอกเข้าไปจิกเนื้อด้านข้าง หรือสามารถตัดมุมเล็บที่จิกไว้ออกแล้วใช้ตะไบเก็บมุมเล็บให้มน
  • ใช้น้ำมันมะกอกช่วยทำให้ชั้นผิวแยกออกจากขอบของเล็บเท้าได้ โดยการนำสำลีชุบน้ำมันมะกอกมาเช็ดให้ทั่วขอบเล็บเท้าบริเวณที่เป็นเล็บขบ
  • พันผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์รอบนิ้วเท้า เพื่อป้องกันเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้นิ้วเท้าเกิดการติดเชื้อหรือโดนถุงเท้ามาเกี่ยวติดได้
  • หมั่นดูแลทำความสะอาดนิ้วเท้าและเช็ดให้แห้ง ไม่ทำให้เท้าอับชื้นอยู่สม่ำเสมอ

2. ยารักษาโรคเล็บขบอักเสบ

  • ยาแก้ปวด หากมีอาการเจ็บปวด สามารถกินยาเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ โดยให้กินยา NSAIDs (non-steroidal anti-inflammatory drugs) เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน หรือแอสไพริน ซึ่งยากลุ่ม NSAID จะช่วยแก้ปวดและแก้อักเสบได้ดี
  • ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ขอบเล็บอักเสบ หรือเป็นหนอง
  • ยาฆ่าเชื้อรา ช่วยรักษาการติดเชื้อราที่เล็บและขอบเล็บ โดยจะใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาโพลิมิกซิน (Polymyxins) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ยาลดการอักเสบ ใช้สำหรับการลดอาการอักเสบที่บริเวณเล็บขบ โดยยาที่ใช้มีทั้งยาที่อยู่ในกลุ่มสเตียรอยด์ และไม่ใช่สเตียรอยด์

ทั้งนี้ การใช้ยาควรอยู่ในการดูแลหรือได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ทุกครั้ง และต้องใช้ยาตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด

3. วิธีการรักษาเล็บขบด้วยการถอดเล็บ

ในบางกรณีที่มีอาการเล็บขบอักเสบขั้นรุนแรง เช่น นิ้วบวมแดงมาก ปวดมาก มีหนองไหล เกิดการติดเชื้อ ซึ่งต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน โดยการรักษาแพทย์อาจจะทำการตัดเล็บส่วนที่มีปัญหาออก หรืออาจจำเป็นต้องถอดออกทั้งเล็บ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละคนด้วย โดยแบ่งการรักษาออกดังนี้

  • ถอดเล็บเท้าออกบางส่วน (Partial Nail Avulsion) จะตัดแต่งเล็บออกเฉพาะส่วนที่มีปัญหา
  • ถอดเล็บเท้าออกทั้งหมด (Total Nail Avulsion) การนำเล็บออกทั้งหมดจะใช้ในรายที่มีปัญหาเล็บขบหนาและกดเข้าไปในผิวหนัง
  • ยกเล็บขึ้น (Lifting the Nail) ในคนไข้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก โดยจะมีแค่เพียงอาการบวมแดง ไม่มีหนองไหล แพทย์จะใช้ไหมหรือสำลียกเล็บให้พ้นขอบผิวหนัง เพื่อไม่ให้เล็บงอกใหม่จิกเข้าไปในผิวหนัง

ขั้นตอนการถอดเล็บรักษาโรคเล็บขบ

  1. แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณเท้าที่เป็นเล็บขบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  2. ฉีดยาชาบริเวณนิ้วที่เป็นเล็บขบ เพื่อระงับความรู้สึกเจ็บ และรอให้ยาชาออกฤทธิ์ประมาณ 5-10 นาที
  3.  ทำการตัดเล็บบางส่วน หรือถอดเล็บออกทั้งหมด ซึ่งเล็บบางส่วนที่ตัดออกส่วนใหญ่จะเป็น 1/4 หรือ 1/5 ของความกว้างเล็บทั้งหมด
  4. ตัดตกแต่งเนื้อเยื่อของเล็บ หรือเนื้อเยื่อใต้เล็บที่มีปัญหาออก แล้วทำความสะอาดเล็บส่วนที่เหลือให้สะอาด
  5. ทายาปฏิชีวนะ แล้วพันแผลด้วยผ้าก๊อซปิดไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อแผลแห้งสนิทดีแล้ว ก็ไม่ต้องปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ
  6. หลังการผ่าตัดถอดเล็บคนไข้สามารถกลับบ้านได้ โดยจะได้รับยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวด ให้กลับไปกินที่บ้าน
  7. หลังอาการดีขึ้นเล็บจะงอกขึ้นใหม่แบบปกติ ประมาณ 2-3 เดือน



วิธีแก้เล็บขบ ให้หายขาด พร้อมเทคนิคสังเกตอาการเล็บขบเบื้องต้น​

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับข้อมูลวิธีแก้เล็บขบและการสังเกตอาการเล็บขบที่เรานำมาฝากในวันนี้ หากเพื่อน ๆ คนไหนมีอาการหนักมาก ๆ หรือยังคงมีความกังวลเกี่ยวเล็บขบ หรือสงสัยว่าอาการที่เป็นอยู่ใช่เล็บขบไหม ทางที่ดีเราขอแนะนำให้เข้ามาปรึกษาหรือให้คุณหมอช่วยดูอาการเหล่านั้นจะดีที่สุดค่ะ ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถเข้ามาปรึกษาคุณหมอพอล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ All About Clinic ที่จะช่วยรักษาโรคเล็บขบนี้ให้หายขาดได้ด้วยนวัตกรรมตัวยาเฉพาะของหมอพอล หรือสามารถสอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ Line @AACCENTER 

ปรึกษาหมอฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
สแกน QR Code หรือแอดไลน์ Official @aacthailand (มีแอดด้านหน้า)
ปรึกษาหมอฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
สแกน QR Code หรือแอดไลน์ Official @aacthailand (มีแอดด้านหน้า)